คนเราส่วนมาก ไม่อยากยุ่งกับปัญหา ไม่อยากยุ่งกับเรื่องที่ดูแล้วยุ่งยากหรือซับซ้อนจนเกินไป ซึ่งมันอาจจะ เป็นเพราะลักษณะนิสัยของคนไทยอย่างเราๆ ก็ได้
ที่มักจะมีนิสัยชอบทำอะไรที่ง่ายๆ จนบางครั้งมันก็มักจะเลยเถิด ไปในทาง มักง่าย ไปเสีย ถ้าบอกว่า “วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของกฎหมาย” เชื่อว่าใครบางคนที่ได้ยิน ก็มักจะพาลเข้าใจผิดไปว่า เป็นเรื่องที่ยากเกินความเข้าใจของเขา จนท้ายสุดแล้วก็โบกมือปัดไม่ยอมรับฟัง หรือไม่ขอมีส่วนร่วมเอาเสียอย่างนั้น
โดยในท้ายที่สุดก็กลับเอาไปเข้าใจเองว่า ฉันไม่อยากยุ่งกับเรื่องของกฎหมายเสียอย่างนั้น แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วคนเราทุกคนเกี่ยวข้อง หรือถูกกฎหมายมาเกี่ยวข้องมาตลอด นับตั้งแต่เราเกิดยังไม่รู้ความ จากนั้นกฎหมายก็จะเข้ามาข้องเกี่ยวตลอด ไปจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่งเอาเลยทีเดียว
กฎหมายเข้ามาข้องเกี่ยวกับเรา โดยการเข้ามารับรองสิทธิของคนทุกคน นับตั้งแต่เมื่อเราคลอดออกมาจาก ท้องแม่ และสามารถอยู่รอด และสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง ซึ่งตามกฎหมายเขาก็จะบอกว่า คนที่เกิดมาแล้วอยู่ รอดนั้น มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย ที่จะต้องได้รับการรับรองสิทธิเอาไว้ทุกคนเสมอ สิทธิที่กล่าวถึงก็เช่น สิทธิที่จะ ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ สิทธิในการจะได้รับการยอมรับจากคนอื่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา เป็นต้น
กฎหมายกำหนดจุดเริ่มต้นของสิทธิต่างๆ เอาไว้ และแน่นอนกฎหมายก็ย่อมจะกำหนดวันสิ้นสุดเอาไว้ด้วย เช่นกัน ซึ่งวันสิ้นสุดของสิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย ก็คือ วันตายของคนเรานั้นเอง
สุดท้ายอาจมีคนสงสัยว่า กรณีหากยังอยู่ในท้องแม่ ซึ่งตามกฎหมายแล้วยังไม่ถือว่ามีสภาพเป็นบุคคลที่กฎหมายจะเข้ามารับรองได้ แต่ภายหลังหากเกิดออกมาแล้วสามารถอยู่รอดได้ด้วยตัวเอง อย่างนี้แล้วกฎหมายได้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิอะไรไว้หรือไม่ ตรงนี้กฎหมายก็ได้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะเกิดออกมาไว้ โดยบุคคลที่เกิดมาแล้วรอดนั้น จะได้รับสิทธิต่างๆ บางอย่างย้อนหลังกลับไปในขณะที่ตัวเองยังอยู่ในท้องแม่ เช่น สิทธิในการรับมรดกของพ่อที่ได้เสียชีวิตไปก่อนที่ตัวเองจะเกิด สิทธิในการเป็นลูกโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อที่ได้จดทะเบียนหย่าในขณะลูกยังไม่เกิด เป็นต้น
——————————————————————————————–
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15
สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอด แล้วอยู่รอดเป็นทารก และสุดสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ขอขอบคุณบทความจาก
www.chawbanlaw.com